สวทช. หนุน จ.กระบี่ เป็นจังหวัดต้นแบบ BCG Modelด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี ด้าน BCGหนุนจ.กระบี่ เป็นจังหวัดท่องเที่ยวต้นแบบด้านสิ่งแวดล้อม

สวทช. หนุน จ.กระบี่ เป็นจังหวัดต้นแบบ BCG Modelด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี ด้าน BCGหนุนจ.กระบี่ เป็นจังหวัดท่องเที่ยวต้นแบบด้านสิ่งแวดล้อม

(16 พฤศจิกายน 2564 ณ โรงแรมโซฟีเทล กระบี่โภคีธรา กอล์ฟ แอนด์ สปา รีสอร์ท- สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับ สมาคม

โรงแรมจังหวัดกระบี่ ในการสนับสนุนจังหวัดกระบี่ เป็นจังหวัดนำร่องด้าน BCG Model โดย มุ่งเน้นในการนำองค์ความรู้ด้าน BCG และ การนำเทคโนโลยีมาสนับสนุนให้เกิดการดำเนินงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ Krabi Go

Green โดยได้มีการมอบนวัตกรรมต้นแบบ ในการกำจัดขยะเปียก (Food Waste) และบำบัดน้ำเสียเพื่อให้สมาคมโรงแรมจังหวัดกระบี่นำไปใช้ในงานจริง เพื่อตอกย้ำความเป็นจังหวัดที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม และดำเนินธุรกิจท่องเที่ยว

บนฐานของความยั่งยืนของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม นวัตกรรมประกอบด้วย เครื่องผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์ในระบบบำบัดน้ำเสีย (ONSITE MICROBIAL REACTOR (OMR) นวัตกรรมตู้ย่อยสลายขยะเปียกออกมาเป็นปุ๋ย (Bio

Composter) โดยมี นางสาววิชุพรรณ ภูเก้าล้วน ศรีสัญญา นายกสมาคมโรงแรมจังหวัดกระบี่ เป็นผู้รับมอบ ซึ่งนวัตกรรมเป็นการร่วมมือวิจัยระหว่าง สวทช. และ บริษัท KEEEN ผู้ส่งมอบนวัตกรรมในวันนี้คือ ดร. วสันต์ อริย

พุทธรัตน์ : Founder & Industry Pioneer, Chief Industrial Ecologist บริษัท KEEEN groupนอกจากนั้นยังมีการนำเทคโนโลยีทางด้านนาโนเทคโนโลยี มาสนับสนุน ให้ จังหวัดกระบี่ ยกระดับ พืชสมุนไพร

ท้องถิ่น ให้เป็น ผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะถูกนำไปใช้ไน โรงแรม อีกด้วย โดยในครั้งนี้มี น.ส. วลีวัลย์ เอกนัยน์ ผู้ช่วยวิจัยอาวุโส ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ ร่วมนำเสนองานวิจัย สารสกัด จากใบขลู่ ซึ่งใบครูเป็นพืช ท้องถิ่น ที่มี สารสกัด

สำคัญ หลายชนิด อาจจะ เป็นอีกหนึ่งโมเดลในการ ยกระดับ ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโสยีอีกด้วยนางสาววิชุพรรณ ภูเก้าล้วน ศรีสัญญา กล่าวว่า ทางสมาคมโรงแรมจังหวัดกระบี่ ให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยว

ที่ยั่งยืน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จะร่วมมือกับพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อก้าวไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (carbon neutrality) และ Krabi Go Green

สวทช. ดำเนินงานขับเคลื่อนตามแผนพัฒนาประเทศไทยด้วย BCG Economy(Bio-Circular-GreenEconomy) ซึ่งในด้านการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ได้ให้ความสำคัญการการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ

ของประเทศไทยให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวคุณภาพ สามารถเพิ่มและกระจายรายได้อย่างทั่วถึงและยั่งยืน สำหรับจังหวัดกระบี่ สวทช. ได้ผลักดันโครงการพัฒนาเชิงพื้นที่ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโสยีแบบบูรณาการ (Krabi Go Green

Model) ร่วมกับทางจังหวัด เพื่อให้เป็นจังหวัดต้นแบบในการพัฒนาฯ ซึ่งที่ผ่านมา สวทช. ได้นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านต่างๆ มาช่วยเหลือผู้ประกอบการอย่างต่อเนื่องผ่านกลไกของโปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยี

และนวัตกรรม (ITAP และศูนย์พัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยี (BIC) ทั้งในกลุ่ม Smart Tourism ได้แก่ ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวความปลอดภัยด้านอาหาร การเพิ่มรายได้การท่องเที่ยว และ

การสนับสนุน Krabi Go Green โดยแนวทางสนับสนุนการพัฒนาเชิงพื้นที่ สวทช. จะเน้นการนำผลงานวิจัยพัฒนาและเทคโนโลยีที่พร้อมใช้ มาประยุกต์กับอุตสาหกรรมและธุรกิจเป้าหมายตามโจทย์ที่ได้รับมารวมถึงจะนำผลิตภัณฑ์และ

บริการจากผู้ประกอบธุรกิจเทคโนโลยี และ startup ไปสร้างประสบการณ์จริงกับกลุ่มเป้าหมาย ตลอดจนนำเสนอกลไกสนับสนุนจาก สวทช. ด้านที่ปรึกษาและเงินทุนเพื่อกระตุ้นการใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมในพื้นที่


image รูปภาพ
image
image
image

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar